post-title

ลูก 1 ขวบแรกควรนอนท่าไหนกันนะ?

     เป็นที่ทราบกันดีว่า การนอนหลับพักผ่อนนั้นสำคัญสำหรับคนเราทุกคน และสำคัญเป็นพิเศษสำหรับเด็กๆแรกเกิด เพราะการนอนหลับพักผ่อนที่เหมาะสม จะทำให้พัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของเด็ก👶🏻 ดำเนินไปได้อย่างเป็นปกติ หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนหลับ นั่นก็คือท่านอนที่เหมาะสมนั่นเอง แต่สำหรับเด็กที่มีอายุที่แตกต่างกันในช่วง 1 ปีแรก แม้จะเป็นช่วงอายุที่ดูเป็นระยะเวลาค่อนข้างสั้น ท่านอนสำหรับเด็กๆจะแตกต่างกันไปตามช่วงวัยหรือไม่ มีรายละเอียดที่แตกต่างกันอย่างไร วันนี้เรามาเรียนรู้พร้อมๆกันเลยดีกว่าค่ะ💁‍♀️


ท่านอนที่เหมาะสำหรับเด็กไม่เกิน 4 เดือนแรก

✨ท่านอนที่คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกใช้ ควรเป็นท่าประเภทนอนหงายหรือนอนตะแคง

ประโยชน์ข้อแรกของการนอนหงายสลับกับนอนตะแคงไปมา อย่างแรกคือเป็นท่าเบื้องต้นที่จะทำให้เด็กมีรูปร่างศีรษะที่สวย กลมทุย

ประโยชน์อีกข้อขอการนอนหงาย คือ เป็นท่าที่เอื้ออำนวยให้ลูกมีโอกาสสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวผ่านการมองเห็น เสริมพัฒนาการของลูกนั่นเองค่ะ

ห้ามจับลูกนอนคว่ำ เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณคอของเจ้าตัวน้อยยังไม่แข็งแรงพอ ให้หันหน้าออกมาหายใจเอง หรือยกคอขึ้นเพื่อให้สะดวกต่อการหายใจเองได้ หากนอนคว่ำจะเป็นการคว่ำหน้าลูก อุดจมูกซึ่งเป็นหนึ่งในอวัยวะระบทางเดินหายใจ ทำให้เด็กหายใจระหว่างนอนได้ไม่สะดวก🤢 จนหมดสติและเสียชีวิตได้ค่ะ

สำหรับระยะเวลาที่เหมาะสมในการให้เด็กวัยนี้นอน ทั้งวันจะอยู่ในช่วงประมาณ 14 - 17 ชั่วโมงต่อวันค่ะ

ท่านอนที่เหมาะสำหรับเด็กอายุ 4-6  เดือน

✨สำหรับวัยนี้ กล้ามเนื้อบริเวณคอของเด็กจะเริ่มแข็งแรงพอ สามารถยกคอขึ้นมาอำนวยความสะดวกในการหายใจให้ตนเองได้แล้วเมื่อนอนคว่ำ ดังนั้นคุณผู้ปกครองสามารถพาลูกนอนคว่ำได้ค่ะ

✨ประโยชน์ของการนอนคว่ำอย่างแรก คือ เป็นท่าที่เมื่อใช้สลับกับท่านอนหงายและนอนตะแคงอย่างเหมาะสมแล้ว จะช่วยหล่อหลอมให้กะโหลกศีรษะของเด็กมีรูปร่างกลมทุยสวยงามได้เช่นเดียวกัน

✨ประโยชน์อีกข้อของการนอนคว่ำ คือการลดความถี่ในการการเกิดปัญหานอนสะดุ้ง หรือนอนผวาในเด็กๆ😰

✨อย่างไรก็ตาม การนอนคว่ำก็ยังถือว่าเป็นท่าที่มีความเสี่ยง ไม่ควรจับเด็กนอนคว่ำเป็นระยะเวลานานๆโดยไม่มีผู้ปกครองคอยอยู่ข้างๆ และดูแลอย่างใกล้ชิด

✨หากเป็นช่วงที่จะฝึกให้ลูกนอนคว่ำ ควรเลือกหมอนที่ไม่หนาและนุ่มนิ่มเกินไป เพราะเมื่อเด็กวางใบหน้าลงไปแล้ว ผ้าอาจเผยอขึ้นมาอุดตันจมูก👃 ขัดขวางการหายใจของเด็กได้ อาจทำให้เด็กหมดสติและเสียชีวิตในระหว่างนอนได้เช่นเดียวกันค่ะ

✨อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ไม่ได้จัดท่าให้เด็กนอนคว่ำ คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกใช้ผ้าปูที่นอน🛌 ปลอกหมอนที่มีสีสันสดใส ลวดลายสบายตาไม่ยุ่งเหยิง แขวนของเล่นเป็นโมบายเหนือเปล อาจเป็นของเล่นที่สร้างเสียงได้ เคลื่อนไหวได้ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กในระหว่างที่นอนหงายและนอนตะแคงได้เช่นเดียวกันค่ะ

✨สำหรับเจ้าตัวน้อยในวัยนี้ ควรได้รับการพักผ่อนทั้งวันอยู่ในช่วงประมาณ 12-15 ชั่วโมงค่ะ

ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับเด็กอายุ 7-12 เดือน  (ครบ 1 ขวบปี)

✨สำหรับเด็กที่มีช่วงอายุประมาณนี้ ถือเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกให้ลูกนอนได้ทั้ง 3 ท่า ทั้งท่านอนหงาย นอนตะแคง นอนคว่ำ เพราะเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อคอและส่วนอื่นๆของเด็กเริ่มแข็งแรงมากพอที่จะพลิกตัวด้วยตนเอง ช่วยเหลือตัวเองได้แล้วในกรณีที่นอนได้ไม่สะดวกสบาย

✨อย่างไรก็ตาม สำหรับท่านอนคว่ำ แม้ลูกจะพอช่วยเหลือตนเองได้ แต่คุณผู้ปกครองควรคอยจับตาดูเป็นพิเศษอยู่ดีค่ะเมื่อเด็กนอนคว่ำ

✨เช่นเดียวกันกับในช่วงอายุ 4-6 เดือน การใช้ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนที่มีสีสันสดใส ลวดลายสบายตาไม่ยุ่งเหยิง แขวนของเล่นเป็นโมบายเหนือเปล🪀 ของเล่นที่สร้างเสียงได้ เคลื่อนไหวได้ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางการเรียนรู้ของเด็กได้อยู่ค่ะ

✨สำหรับเด็กๆในวัยนี้ ต้องการการนอนหลับพักผ่อนรวมทั้งวันไม่เกิน 12-15 ชั่วโมงค่ะ😴


จัดที่นอนเด็กอย่างไรให้เหมาะสม

✨อย่างแรกที่ต้องคำนึงถึงคือความสะอาดของห้อง และเลือกห้องที่อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก ไม่อึดอัด่ะ

หากทารกนอนเตียงเดียวกับคุณผู้ปกคอง ควรจัดตำแหน่งเฉพาะของทารก ให้ห่างจากคุณผู้ปกครองประมาณ 1 ช่วงแขน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นระหว่างนอนอย่างการกลิ้งนอนทับเด็ก ทำให้เด็กขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตได้ค่ะ

หากลูกนอนเปลหรือเตียงของเด็กโดยเฉพาะ ควรเลือกเป็นเตียงที่มีของกั้นกันตกเตียง หรือติดตั้งขอบกั้นทีหลังก็ได้ค่ะ และซี่รั้วของขอบกั้นควรห่างกันไม่ต่ำกว่า 15 เซนติเมตรค่ะ

ช่วงระหว่างเบาะนอนกับของเตีบงของเด็กไม่ควรมีช่องว่างหรือสิ่งของใดๆที่เสี่ยงต่อการคว้ามาปิดหน้าตนเองของเด็กค่ะ

     ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ สำหรับการจัดท่านอนที่เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย ในช่วงอายุไม่เกิน 1 ขวบ และถึงแม้ท่านอนอย่างท่านอนคว่ำ ที่ค่อนข้างดูเป็นอันตรายต่อเด็ก ก็ยังมีประโยชน์เช่นกัน เพียงแต่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัยและแต่ละความเหมาะสมของสถานการณ์ คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมนำไปลองปรับใช้กับเจ้าตัวน้อยของตนเองกันนะคะ