post-title

หยุดเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น

     เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านคงคาดหวังให้ลูกเป็นคนเก่ง คนดี ประสบความสำเร็จในชีวิต🏆 และเป็นแบบที่เราอยากให้เขาเป็น แต่อย่างไรก็ตามตอนที่เด็กคนหนึ่งเติบโตมาในครอบครัวเดียวกัน สภาพแวดล้อมใกล้เคียงกัน เรียนที่โรงเรียนเดียวกัน หรือมีลักษณะนิสัยใกล้เคียงกัน แม้แต่พี่น้องที่คลานตามกันมา ก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะปฏิบัติตามทุกอย่างได้ดั่งใจที่คุณแม่คาดหวังไว้ไปนะคะ เพราะฉะนั้นหยุดเปรียบเทียบลูกของคุณกับลูกคนอื่นทั้งที เพราะอะไรบ้างนั้น เรามีคำตอบมาให้คุณพ่อคุณแม่ทราบ ณ ที่นี้แล้วค่ะ💁‍♀️


ข้อเสียของการเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น

ทำให้เด็กขาดความมั่นใจ 

เมื่อถูกคาดหวังให้เป็นในสิ่งที่พ่อแม่วาดฝันไว้ ถึงแม้ว่าจะเป็นความปรารถนาดีก็ตาม สิ่งนี้อาจกลับกลายเป็นฝันร้ายสำหรับลูก😰 หากพ่อแม่มีการใช้ถ้อยคำในเชิงลบเพื่อเปรียบเทียบลูก เช่น "ทำไมเรื่องง่ายๆ แค่นี้ถึงทำไม่ได้เหมือนเพื่อน" "ทำไมหน้าตาไม่น่ารักเหมือนคนพี่เลย" แม้อาจจะพูดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่นี่ถือว่าเป็นการบูลลี่ (Bully) ทำให้เกิดเป็นปมในใจในของ และอาจนำไปสู่การลดทอนคุณค่าในตนเอง เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีอะไรดีเหมือนคนอื่น ทำให้ลูกกลายเป็นคนที่อาย ไม่กล้าเข้าสังคม และหลีกเลี่ยงทุกหนทางที่จะไปเจอเพื่อนๆ พ่อกลัวจะถูกเปรียบเทียบกับคนอื่นหรือโดนบูลลี่นั่นเอง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวอีกด้วย เพราะลูกจะรู้สึกกดดันและเครียด🤯เมื่อถูกพ่อแม่เปรียบเทียบบ่อยครั้ง รวมถึงเกิดความอิจฉาริษยากันระหว่างพี่น้อง หากถูกพ่อแม่เปรียบเทียบกันในครอบครัวเสมอ

ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในครอบครัว

เมื่อลูกโดนเปรียบเทียบอยู่เป็นประจำ ก็จะทำให้ลูกรู้สึกโกรธ และอาจแสดงพฤติกรรมต่อต้านพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นด้วยการประชดประชัน การทะเลาะเบาะแว้ง🤬 จนอาจนำไปสู่ความขัดแย้งภายในครอบครัวได้ แถมถ้อยคำที่รุนแรงจนกระทบต่อจิตใจเด็ก ยังถือเป็นการละเมิดสิทธเด็กทางด้านวาจาและอารมณ์ ยิ่งพ่อแม่พูดเปรียบเทียบบ่อยมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นการตอกย้ำ ทำให้ลูกเกิดความรู้สึกแย่ต่อบุพการีและตัวของเขาเองด้วย  หยุดเปรียบเทียบ แล้วเลี้ยงลูกอย่างเข้าใจ🫂


เทคนิคในการสื่อสารเพื่อลดการใช้วิธีการเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น

บอกลูกให้ชัดถึงสิ่งที่อยากจะสอน หรืออยากให้ทำ 

คุณพ่อคุณแม่ควรสื่อสารให้ชัดเจนถึงสิ่งที่อยากอยากจะสอน หรืออยากให้ลูกทำ โดยการใช้ถ้ายคำและน้ำเสียงที่อ่อนโยน เช่น แทนที่จะพูดกับลูกว่า “หัดตั้งใจเรียนเหมือนพี่บ้าง มัวแต่เล่นแบบนี้ถึงสอบตก ดูพี่เขาเป็นตัวอย่างสิ🫵🏻”ควรหลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบ และเปลี่ยนไปพูดคุย หรือสอนลูกไปตรงๆ ว่า “แม่ว่าลูกลองปรับเวลาเรียนกับเล่นอีกนิด ครั้งหน้าหากคะแนนสอบดีขึ้น หนูจะได้ไม่ต้องสอบตก มีเวลาเล่นเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย🥰”

ดึงข้อดีในตัวของลูกมาเป็นจุดเด่น

แน่นอนว่าเด็กแต่ละคนนั้นมีข้อดีและพรสวรรค์ที่แตกต่างกันออกไป แทนที่คุณพ่อคุณแม่จะไปโฟกัสกับจุดด้อยของลูก ควรเปลี่ยนมาโฟกัสจุดเด่นและความสามารถที่ลูกถนัดจะดีกว่านะคะ เช่น ลูกอาจจะไม่เก่งด้านวิชาการ แต่ชื่นชอบและถนัดในด้านศิลปะ🎨 กีฬา คุณพ่อคุณควรให้ความสนับสนุนในด้านที่ลูกสนใจเพิ่มเติม เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของลูกให้ดียิ่งขึ้น และยังทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเขานั้นก็มีดี และไม่ได้ด้อยไปกว่าคนอื่นด้วยเช่นกัน

ชื่นชมเมื่อลูกทำดีและคอยซัพพอร์ทในสิ่งที่ลูกทำ
คำชื่นชมยินดีนั้นสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงคุณพ่อคุณแม่เอ่ยชื่นชมลูก เมื่อลูกทำได้ดีหรือทำสิ่งที่ดี เช่น “เก่งมากเลยลูก แม่ภูมิใจในตัวหนูมากๆค่ะ👏” เพียงเท่านี้ก็ทำให้ลูกรู้สึกมีความสุข และยังเป็นการช่วยส่งเสริมด้านอารมณ์ให้ลูกเป็นคนมองโลกในแง่บวก เป็นคนมีทัศนคติที่ดี แถมยังทำให้ลูกมองเห็นคุณค่าในตนเองและมีความมั่นใจที่จะกล้าลงมือทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองมากขึ้นเช่นกันค่ะ

     ทราบกันแล้วใช่ไหมคะถึงผลเสียของการเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น นอกจากจะเป็นการบั่นทอนจิตใจของลูกแล้ว การกระทำเช่นนี้ยังส่งผลไปต่อความสัมพันธ์ของบุคคลภายในครอบครัวด้วยเช่นเดียวกัน หากคุณแม่พบว่าลูกกทำผิดพลาด หรือทำได้ไม่ดีดั่งใจ ควรลดความคาดหวังในตัวลูกลงบ้าง และเปลี่ยนมาเป็นการให้กำลังใจลูก💞 และคอยซัพพอร์ท ชื่นชมลูกอยู่เสมอ👏 จะส่งผลดีกว่าการพูดตำหนิหรือเปรียบเทียบลูกกับคนอื่นๆ ค่ะ