post-title

ลูกเล่นซนจนกระดูกหัก ดูแลแบบนี้!

     เด็กที่อยู่ในวัยกำลังซนมักชอบวิ่งเล่นผาดโผดอยู่เสมอ จึงทำให้เกิดอุบัติได้ง่ายหากไม่ระวังระวัง คุณแม่คุณแม่หลายๆท่านจึงมีความกังวลว่าลูกบาดเจ็บตรงไหนบ้างไหม แต่เด็กเล็กนั้นไม่สามารถอธิบายความผิดปกติของตัวเองได้ ดังนั้นทางเราจึงได้รวบรวมวิธีดูแลเบื้องต้นเมื่อลูกน้อยเล่นซนจนกระดูกหัก🦴มาให้คุณแม่ทราบ เราไปดูพร้อมๆกันเลยค่ะ


วิธีสังเกตอาการหากลูกกระดูกหัก

ลักษณะอาการที่สังเกตได้เมื่อลูกกระดูกหัก

- กระดูกมีลักษณะบิดเบี้ยว ผิดรูปไปจากเดิม หรือโผล่ออกมาจากผิวหนัง

- มีเสียงดังกร๊อบแกร๊บ💥บริเวณที่กระดูกหักขณะเกิดอุบัติเหตุ

- ลูกรู้สึกเจ็บเมื่อมีคนมาจับหรือแตะโดน รวมไปถึงจะมีอาการร้องไห้งอแงด้วย😭

- มีอาการปวด ฟกช้ำ บวมแดง มีรอยห้อเลือด🩸 และสีผิวบริเวณที่บาดเจ็บเปลี่ยนไป

- ลูกรู้สึกชาบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ เพราะเส้นประสาทบริเวณกระดูก🦴หักได้รับความเสียหาย

- ลูกไม่ยอมขยับส่วนที่บาดเจ็บ เช่น ไม่ยอมเดิน🚶‍♀️ หรือไม่สามารถเหยียดข้อศอกให้ตรงได้


ลักษณะการหักของกระดูกมีกี่ประเภท?

อาการกระดูกหักแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1.กระดูกเดาะ 

มีลักษณะเหมือนกิ่งไม้🎋ที่โดนหัก โดยลักษณะของกระดูกหักเฉพาะด้านที่เกิดแรงปะทะด้านเดียว ส่วนอีกด้านโก่งออกไปตามแรงกด

 2.กระดูกหักแบบย่นด้วยแรงอัด

 เป็นภาวะที่กระดูกถูกอัดจนย่นเข้าหากัน แต่ไม่ได้เคลื่อนที่ออกจากกัน

3.กระดูกโก่งงอไม่มีรอยหัก 

เป็นกระดูกที่ผิดรูปไปจากเดิม มีลักษณะโก่งงอ และไม่มีรอยแตก เป็นลักษณะของกระดูกที่พบได้ในเด็กวัยรุ่น👨‍🦱มากกว่าเด็กเล็ก

4.กระดูกหักบริเวณส่วนปลาย 

 เป็นลักษณะกระดูกที่หักออกจากกันเป็นสองท่อน โดยเกิดขึ้นที่แผ่นการเจริญเติบโตของกระดูก (Growth Plate) ซึ่งเป็นกระดูกอ่อนบริเวณส่วนปลายที่ยังไม่เจริญเติบโต หากไม่ได้รับการรักษาทันที🩺 อาจส่งผลให้กระดูกบริเวณนั้น เติบโตได้ช้ากว่าบริเวณอื่น ๆ ในร่างกาย


วิธีดูแลเบื้องต้นเมื่อลูกกระดูกหัก

เมื่อเลิกเล่นซนจนเกิดอุบัติเหตุทำให้กระดูกหัก คุณพ่อคุณแม่ควรใจเย็นไว้ก่อน และควรนำลูกไปรักษาที่โรงพยาบาล🏥ทันที แต่ก่อนจะนำไปส่งโรงพยาบาล คุณพ่อคุณแม่สามารถเรียนรู้วิธีดูแลลูกเบื้องต้นได้ด้วย

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกกระดูกหักมีดังต่อไปนี้

- นำน้ำแข็ง🧊ห่อผ้าไปประคบเย็นบริเวณที่คิดว่ากระดูกหัก หลังจากนั้นยกอวัยวะส่วนนั้นให้สูงขึ้น เพื่อบรรเทาอาการปวดบวม แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรประคบน้ำแข็งกับเด็กทารกนะคะ เพราะความเย็นจัดของน้ำแข็งอาจทำลายผิวหนังของลูกได้

- หากต้องถอดเสื้อผ้าลูก ควรใช้กรรไกรตัด✂️ หรือใช้วิธีฉีกเสื้อผ้าออกดีกว่า วิธีนี้จะเป็นการช่วยไม่ให้ลูกมีอาการเจ็บปวดตรงบริเวณที่กระดูกหัก

 - หากลูกกระดูกหักที่แขนหรือขา ให้นำวัสดุที่มีลักษณะแข็งแรงมาดาม เช่น ไม้🪵 ลังกระดาษ หรือหนังสือพิมพ์ม้วน เป็นต้น ควรเลือกความยาวของวัสดุให้เลยกว่าบริเวณที่ลูกบาดเจ็บ หลังจากนั้นใช้ผ้าพันรอบ ๆ  ไม่ต้องพันแน่นมาก เพื่อเป็นการลดการเคลื่อนไหว และบรรเทาอาการปวด 

- หากลูกต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรให้ลูกงดรับประทานอาหาร🍛 ดื่มน้ำ และกินยาทุกชนิด

     สรุปก็คือคุณพ่อคุณแม่สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ลูกได้ หากลูกประสบอุบัติเหตุทำให้กระดูกหัก แต่หากสงสัยว่าลักษณะกระดูกที่หักนั้นจะมีอาการขั้นรุนแรง ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์👩‍⚕️ทันที เพราะการหักของกระดูกอาจส่งผลต่อพัฒนาการร่างกายลูกได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่การพัฒนาของกระดูกยังไม่สามารถพัฒนาได้เต็มที่ค่ะ