post-title

6 ลักษณะอาการเท้าคด เท้าผิดรูปของเด็ก

     ลักษณะอาการที่คุณแม่ควรสังเกตในทารกคือ อาการเท้าคด🦶 ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทารกบางรายอาจมีอาการคั้นรุนแรงจนถึงขั้นต้องใช้การผ่าตัดในการรักษา บทความนี้ได้รวบรวม 6 ลักษณะอาการของทารกเท้าคดและวิธีรักษามาให้คุณแม่ทราบค่ะ💁‍♀️


อาการเท้าคด เท้าผิดรูปมีสาเหตุมาจากอะไร?

👉เป็นผลมาจากหลายๆสาเหตุ

อาการเท้าคด เท้าผิดรูป เท้าบิดด้านใน ล้วนมีสาเหตุที่แตกต่างออกกันไป จะสามารถระบุได้ชัดเจนก็ต่อเมื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เท่านั้น โดยทั่วไปสาเหตุมักมาจาก กรรมพันธุ์🧬 ระบบประสาทและสมอง🧠ผิดปกติ การผิดรูปของกระดูกเท้า หรือแม้กระทั่งการผิดปกติต่างๆในช่วงที่ทารกอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ 


6 ลักษณะอาการทารกเท้าคด เท้าผิดรูป และวิธีการรักษา

1️⃣โรคเท้าโค้ง

ลักษณะอาการของโรคท้าวโค้งจะ สามารถสังเกตจากส่วนครึ่งหน้าของเท้าโค้งเข้า หากลูกมีอาการเท้าโค้งที่ไม่มากก็จะสามารถดัดให้ตรงได้ และอาการนี้จะดีขึ้นก็ต่อเมื่อลูกมีอายุ 6-12 เดือน👶 แต่ในกรณีที่ทารกมีอาการเท้าโค้งขั้นรุนแรง คุณแม่ควรพาทารกไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ หากปล่อยไว้นานอาจจะมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นต้องทำการผ่าตัด

2️⃣นิ้วเท้าติดกัน

อาการนี้จะมีลักษณะที่เท้าของทารกอยู่ชิดติดกันโดยไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ฟังดูเหมือนจะไม่มีผลกระทบต่อตัวทารกสักเท่าไหร่ แต่ความจริงนั้นเป็นอาการที่ไม่ควรปล่อยเอาไว้🙅‍♀️ เพราะอาจเสี่ยงต่อการสะสมของเชื้อโรค🦠ได้ เนื่องจากบริเวณร่องเล็กๆระหว่างนิ้วเท้านั้นอาจทำความสะอาดได้ยาก คุณแม่ควรนำทารกไปปรึกษากับแพทย์เพื่อรับการผ่าตัดแยกนิ้วเท้าออกจากกันค่ะ

3️⃣เท้ากระดก บิดออกด้านข้าง

ลักษณะอาการของโรคนี้จะสังเกตได้จากลักษณะของเท้าจะวางแนบไปกับกระดูกบริเวณหน้าแข้ง🦵 ซึ่งพบได้มากในทารกที่เป็นครรภ์แรกของคุณแม่🤰  แพทย์สันนิษฐานว่าสาเหตุเกิดมาจากการที่มดลูกของคุณแม่ไม่เคยขยายตัวมาก่อน และเมื่อมีการเจริญเติบโตของทารกภายในครรภ์ ทารกจะใช้เท้าดันมดลูกจนทำให้เกิดอาการเท้ากระดกนั่นเองค่ะ โดยปกติอาการเท้ากระดกสามารถหายได้เองเมื่อทารกมีอายุ 1-2 เดือน แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น คุณแม่ควรนำทารกไปรักษากับแพทย์ทันทีค่ะ 

4️⃣เท้าบิดเข้าด้านใน

ลักษณะอาการเท้าบิดเข้าด้านใน นั้นเกิดจากความผิดปกติของกระดูก🦴 คุณแม่ควรพาลูกไปรับการตรวจจากแพทย์เพื่อหาจุดกระดูกที่ทำให้เกิดอาการนี้ โดยทั่วไปอาการนี้มักแสดงในช่วงที่เด็กอายุ 2-4 ปี เด็กจะไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ แต่จะแสดงออกมาในลักษณะการเดินที่ไม่เหมือนกับคนปกติ โดยทั่วไปอาการเท้าบิดเข้าด้านในสามารถหายได้เอง ควบคู่กับการดูแลจากแพทย์👨‍⚕️ แต่ถ้าหากรักษาไปจนถึงลูกอายุ 7-8 ปีแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดค่ะ

5️⃣นิ้วเท้าเก เท้าเอียง

คุณแม่จะสังเกตได้ว่านิ้วเท้าของลูกจะเกและงุ้ม ซึ่งพบได้บ่อยในช่วงเด็กแรกเกิด และอาการจะค่อยๆบรรเทาลงเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น อาการนี้มักเป็นผลมาจากพันธุกรรม🧬 และไม่ส่งผลเสียใดๆต่อตัวทารก แต่ถ้าหากคุณแม่พบว่าลูกมีปัญหาในการเดิน🚶‍♂️ สามารถเข้ารับการผ่าตัดโดยทางทีมแพทย์ได้ทันทีค่ะ

6️⃣จำนวนนิ้วเท้าเกินหรือน้อยกว่าปกติ

นิ้วเท้าเด็กปกติจะมีจำนวน 5 นิ้ว แต่ทารกบางคนอาจจะเกิดมามี 4 นิ้วหรือมี 6 นิ้ว ซึ่งโดยทั่วไปไม่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต เพียงแต่อาจจะทำให้ทารกรู้สึกนิ้วเบียดเวลาใส่รองเท้า🥾 ซึ่งวิธีแก้ปัญหาอาการนี้คือการเลือกซื้อรองเท้าหัวกว้างให้ลูกใส่ หรือเข้ารับการผ่าตัดโดยแพทย์

     อาการดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้นนั้นยังส่งผลต่อรูปเท้าของเด็กอีกด้วย เช่น โรคเท้าปุก หากคุณแม่พบว่าลูกมีอาการถึงขั้นรุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิต เช่น เดินไม่ได้ ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์👨‍⚕️เพื่อเข้ารับการรักษาทันที