post-title

ทารกควรกินข้าววันละกี่มื้อ และอะไรที่ห้ามกิน?

     เมื่อเจ้าตัวน้อยได้ลืมตาออกมาดูโลกแล้ว คุณแม่มักจะเกิดคำถามว่าลูกสามารถกินข้าว🥣ได้วันละกี่มื้อและอาหารแบบไหนที่ลูกไม่ควรทาน บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการกินอาหารที่เหมาะสมสำหรับทารกตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงอายุ 1 ปีมาให้คุณแม่ทราบ เราไปดูพร้อมๆกันเลยค่ะ💁‍♀️


ปริมาณมื้ออาหารในแต่ละช่วงวัยของทารก

✨อายุ 6-7 เดือน 

ทารกควรรับประทานอาหารวันละ 1 มื้อ เช่น ข้าวบดละเอียด 3-4 ช้อนโต๊ะ และอาหารจำพวกเนื้อสัตว์🐟 ผัก ไข่ ตับ และผลไม้นิ่ม ซึ่งอาหารเหล่านี้ต้องผ่านการบดละเอียดก่อนนำไปป้อนให้ทารก โดยอาหารหลักยังคงเป็นนมอยู่

อายุ 8-9 เดือน

ทารกควรรับประทานอาหารวันละ 1 - 2 มื้อ ควบคู่ไปกับการดื่มนมแม่ และอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ผักหลายชนิด ไข่🍳ผลไม้ และธัญพืชต่างๆ ที่มีประโยชน์ 

อายุ 10 เดือน - 1 ปี

ทารกควรรับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ🍽️ และสามารถเลิกดื่มน้ำนมแม่ได้ค่ะ และอาหารที่แนะนำให้ทานก็ยังเป็นอาหารที่มีสัมผัสนิ่มอยู่ คุณแม่ควรฝึกให้ทารกเคี้ยวและกลืน และเริ่มสังเกตอาการแพ้อาหารบางชนิดได้ในช่วงวัยนี้ค่ะ

อายุ 1 ปีเป็นต้นไป 

ทารกควรรับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ และควรได้รับสารอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในช่วงวัยนี้คุณแม่ควรระมัดระวังในเรื่องการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมและน้ำตาลสูงของลูก เช่นการกินน้ำอัดลม ขนมหวาน🍭 และขนมขบเคี้ยว เพราะอาจทำให้ลูกเสี่ยงฟันผุ🦷และเป็นโรคอ้วนได้


อาหารที่ทารกไม่ควรกิน

🐮ผลิตภัณฑ์จากนมวัว

เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 เดือนไม่ควรดื่มนมวัว🥛 เพราะในนมวัวมีสารอาหารน้อยกว่านมแม่ และยังมีปริมาณของโซเดียมและโพแทสเซียมสูง ซึ่งอาจทำให้ระบบไตทำงานหนัก

🥜ผลิตภัณฑ์จากถั่ว

จริงๆแล้วลูกสามารถกินถั่วได้ แต่คุณแม่ควรมั่นใจก่อนว่าได้ทำการบดถั่วให้ละเอียดก่อนให้ลูกกิน เพราะเสี่ยงที่จะทำให้เม็ดถั่วติดคอลูกจนเกิดอาการสำลัก🤢

🍫ผลิตภัณฑ์จากน้ำตาล

ควรเลี่ยงให้ลูกรับประทานอาหารทุกชนิดที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เช่น เยลลี่🍬 น้ำอัดลม และช็อกโกแลต เพราะอาจทำให้ลูกฟันผุ และเป็นโรคอ้วน

🧂ผลิตภัณฑ์จากเกลือ

คุณแม่ควรเลี่ยงการใส่เกลือในปริมาณมากในอาหารของลูก เพราะหากลูกได้รับปริมาณโซเดียมสูงเกินไป⬆️ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบไต ทำให้ระบบไตทำงานหนักกว่าปกติ 

     ในแต่ละช่วงวัยทารก👶มีความต้องการของปริมาณอาหารและสารอาหารที่แตกต่างกันไป คุณแม่ควรใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ เริ่มตั้งแต่การปรุงอาหาร ไม่ควรใส่เกลือมาก บดอาหารให้ละเอียดก่อนให้ลูกกิน🥣 และควรหมั่นสังเกตอาการแพ้อาหารที่อาจเกิดขึ้นได้ในเด็กอยู่เสมอค่ะ