post-title

ภาวะแคระแกร็นในเด็ก

     พัฒนาการด้านหนึ่งของเจ้าตัวน้อย👶ที่คุณพ่อคุณแม่อาจเป็นกังวลก็คือพัฒนาการทางด้านร่างกาย ประเด็นหนึ่งที่สามารถสังเกตได้อย่างชัดก็คือเรื่องความสูงของลูก ซึ่งเป็นประเด็นที่มีปัจจัยมาเกี่ยวข้องอย่างหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม🧬ที่เด็กได้รับมาจากทางคุณพ่อคุณแม่เอง ไลฟ์สไตล์ อาหารการกินของเด็ก แต่วันนี้บทความของเราจะพาคุณผู้อ่านมารู้จักกับอีกหนึ่งปัจจัย ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านความสูงของเด็กโดยตรงนั่นก็คือ “โกรทฮอร์โมน” นั่นเองค่ะ💁‍♀️


โกรทฮอร์โมนคืออะไร

โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) หากดูจากชื่อภาษาอังกฤษของเจ้าฮอร์โมนตัวนี้แล้ว คุณผู้อ่านก็คงพอจะเดาออกใช่ไหมคะ ว่าฮอร์โมนตัวนี้ต้องเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของคนเราแน่ๆ ซึ่งก็ถูกต้องค่ะ เจ้าฮอร์โมนตัวนี้ถูกผลิตโดยต่อมใต้สมอง🧠 และจะถูกส่งเข้ากระสเลือดเพื่อไปสื่อสารกับเซลล์ต่างๆในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์กล้ามเนื้อและกระดูก🦴ค่ะ เพื่อให้เซลล์เหล่านั้นมีการเจริญและแบ่งตัว ร่างกายก็จะเจริญเติบโตค่ะ

ถ้าเด็กขาดโกรทฮอร์โมนจะเป็นอย่างไร

💫มีลักษณะโครงร่างของใบหน้าอ่อนวัย

ข้อนี้อาจถูกมองเป็นข้อดีได้ แต่ก็ไม่ใช่ข้อดีเสียทีเดียวค่ะ เพราะเด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมนจะมีลักษณะโครงร่างของใบหน้าอ่อนวัยกว่าปกติ👶 แต่บางรายก็พบลักษณะอื่นๆ เช่นปากแหว่งเพดานโหว่ควบคู่ค่ะ

💫ในส่วนของรูปร่างโดยรวมและความสูง 

เด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมนจะมีรูปร่างเตี้ย และอาจอวบ เพราะมีไขมันสะสมบริเวณลำตัวค่ะ ในกรณีที่เป็นเพศชาย👦ที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น จะสังเกตว่าเสียงไม่ค่อยแตกทุ้ม🔉

💫ไม่ได้ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสมอง

การขาดโกรทฮอร์โมนนั้นไม่ได้ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสมอง🧠ของเด็ก ดังนั้นเด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมนก็จะยังมีระดับสติปัญญาตามปกติค่ะ


สาเหตุที่เด็กขาดโกรทฮอร์โมน

สาเหตุที่ 1️⃣

ในกลุ่มที่ขาดมาตั้งแต่กำเนิด อาจมีสาเหตุมาจากการที่ต่อมใต้สมองมีรูปร่างไม่สมบูรณ์หรือมีขนาดเล็กเกินไป หรืออาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม🧬ที่ทำให้ไม่สามารถหลั่งโกรทฮอร์โมนได้ อาจเกิดจากการที่โกรทฮอร์โมนไม่ได้อยู่ในสภาพที่จะทำงานได้ ตัวรับสัญญาณ🛜ของโกรทฮอร์โมนอาจไม่สามารถรับได้ แต่บางรายก็ไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ค่ะ

สาเหตุที่ 2️⃣

ในกลุ่มที่พึ่งมาขาดตอนโตขึ้นมา อาจเกิดจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณสมอง ไม่ว่าจะเป็นการที่มีก้อนเนื้องอกไปกดทับบริเวณต่อมใต้สมอง เกิดอาการติดเชื้อบริเวณสมอง เกิดอาการบาดเจ็บบริเวณสมอง รวมไปถึงการผ่าตัดรักษาและการใช้รังสี☢️รักษาบริเวณสมองด้วยค่ะ


วิธีป้องกันภาวะขาดโกรทฮอร์โมนในเด็ก

ในกรณีที่เจ้าตัวน้อยยังไม่ได้มีปัญหาเรื่องโกรทฮอร์โมนโดยตรง เราจะส่งเสริมการหลั่งของโกรทฮอร์โมนให้เป็นไปตามปกติด้วยพฤติกรรมเหล่านี้ได้ค่ะ

👉เด็กๆควรได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ 

การพักผ่อนในที่นี้หมายถึงการนอนหลับ😴อย่างเพียงพอเท่านั้น เพราะโกรทฮอร์โมนจะหลั่งเวลาที่เรานอนหลับค่ะ ระยะเวลาที่เหมาะสมในเด็กๆก็คือไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน และควรเข้านอนไม่เกินสี่ทุ่มของแต่ละคืน🌃 เพราะเป็นช่วงเวลาที่โกรทฮอร์โมนสามารถหลั่งได้ดีที่สุดค่ะ

👉ควบคุมโภชนาการ 

รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน🍲 ในปริมาณและความถี่ของแต่ละมื้ออย่างเหมาะสม อาจมีการใช้อาหารเสริม💊รับประทานควบคู่แต่ควรขอคำแนะนำจากแพทย์และเภสัชกรก่อนเสมอค่ะ

👉เน้นอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมอย่างการดื่นนม 

สำหรับเด็กที่กำลังย่างเข้าวัยรุ่นควรดื่มนม🥛ประมาณวันละ 600-800 มิลลิลิตร แต่หากเป็นเด็กที่เล็กกว่านั้นก็อาจปรับปริมาณลง ดูตามความเหมาะสมเมื่อรวมอยู่ในมื้ออาหารได้ค่ะ

👉เน้นกิจกรรมที่แอคทีฟ

สำหรับเด็กเล็กควรเน้นกิจกรรมที่ได้มีการขยับตัว🤾‍♀️ ได้มีการออกกำลังกาย เพราะแรงกระแทกเบาๆระหว่างข้อต่อกระดูกในร่างกายระหว่างที่ทำกิจกรรม จะทำให้เซลล์กระดูกถูกกระตุ้นและขยายตัวได้ค่ะ

     อย่างไรก็ตาม การที่เจ้าตัวน้อยของเราจะมีความสูงเท่าไหร่นั้นก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับโกรทฮอร์โมนเพียงอย่างเดียว ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ก่อให้เกิดภาวะแคระแกร็นได้ ยกตัวอย่างเช่นความผิดปกติของกระดูก🦴ในรูปแบบต่างๆซึ่งยังไม่ถูกกล่าวถึงในบทความนี้ แต่โกรทฮอร์โมนก็ยังเป็นตัวละครหลักที่ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายของเด็กๆ👶อยู่ดี ดังนั้นหากเราป้องกันเด็กๆจากภาวะขาดโกรทฮอร์โมนได้ ก็จะถือว่าเป็นการตัดปัจจัยเสี่ยงเรื่องความแคระแกร็นออกไปหนึ่งปัจจัยค่ะ