post-title

ว่าที่คุณแม่! ไม่อยากมีโรคแทรกซ้อนตอนท้องต้องอ่าน!

            แน่นอนว่าทุกการตั้งครรภ์มีความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนเสมอ คุณแม่ทั้งหลายอาจเป็นกังวลกับเรื่องไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ บทความนี้จะพาไปดูวิธีการเตรียมตัวและปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด เพื่อตัวของคุณแม่เองและลูกน้อยของคุณแม่ค่ะ


การดูแลตนเองที่คุณแม่สามารถปฏิบัติได้โดยตรง

หมั่นสังเกตค่า BMI

การควบคุมน้ำหนัก คุณแม่ควรหมั่นสังเกต🤔ว่าตนเองมีค่า BMI (Body Mass Index) อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ ค่า BMI ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่าง 18.5 - 24 หากคุณแม่มีค่า BMI น้อยกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์ควรปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์ว่าควรปรับโภชนาการอย่างไร ให้ยังสามารถคุมน้ำหนักและได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อทั้งตนเองและลูกน้อยไปพร้อมกันได้ ไม่ควรตัดสินใจลดน้ำหนักหรือเพิ่มน้ำหนักเองโดยขาดการดูแลจากแพทย์ค่ะ

ควบคุมอาหารการกินของตนเอง 

สารอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไปนั้นส่งผลต่อลูกน้อยโดยตรง สารอาหารในปริมาณที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้ลูกน้อยเป็นโรคขาดสารอาหารหรือโรคอ้วนได้ในอนาคต การขาดวิตามิน และแร่ธาตุบางชนิดก็อาจส่งผลให้ลูกน้อยของคุณแม่เป็นโรคแทรกซ้อนหลังคลอดได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของธาตุเหล็ก แคลเซียม กรดโฟลิค แต่อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารเสริมก็ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำและการดูแลของแพทย์ผู้รับฝากครรภ์ค่ะ👩‍⚕️ 

ออกกำลังในระดับที่เหมาะสมกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 

หากคุณแม่ออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้วตั้งแต่ช่วงก่อนตั้งครรภ์ คุณแม่อาจปรึกษาแพทย์ผู้รับฝากครรภ์ได้ค่ะว่าสามารถออกกำลังกายแบบเดิมได้ไหมควรลดหรือปรับเปลี่ยนระดับความเข้มข้นของกิจกรรมไหม แต่หากคุณแม่ท่านใดไม่ได้ออกกำลังกายบ่อยๆแนะนำว่าควรเริ่มออกค่ะ โดยสามารถขอคำแนะนำกับแพทย์ได้เช่นเดียวกัน เพื่อปรึกษาว่าตนเองเหมาะที่จะออกกำลังกายแบบไหน🏃🏻‍♀️ เนื่องจากร่างกายของคุณแม่แต่ละท่านมีข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกันค่ะ

ลดและเลิกพฤติกรรมดังต่อไปนี้ 

สิ่งที่คุณแม่ควรลดได้แก่การรับประทานคาเฟอีนค่ะ คุณแม่บางท่านอาจดื่มกาแฟเป็นประจำ แต่การบริโภคคาเฟอีนที่มากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อลูกน้อยได้ หากยังเลิกไม่ได้ก็ควรค่อยๆ ลดปริมาณการบริโภคลง แต่หากเลิกได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมากๆค่ะ ในส่วนของสิ่งที่ต้องเลิก ได้แก่แอลกอฮอล์🍷และสารเสพติดทุกชนิด รวมไปถึงสารเสพติดที่ถูกกฎหมายในปัจจุบันอย่างบุหรี่และกัญชาด้วยค่ะ

ตรวจสุขภาพ 

ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงการฝากครรภ์กับแพทย์ แต่รวมถึงสุขภาพฟันของคุณแม่เอง และสุขภาพจิตใจของคุณแม่ด้วยค่ะ


การดูแลตนเองทางอ้อม

วางแผนเรื่องค่าใช้จ่ายภายในบ้าน

ในกรณีที่มีเจ้าตัวเล็กเป็นสมาชิกเพิ่ม 1 คน ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่ายา ค่ารักษาพยาบาล ค่าข้าวของอุปโภคบริโภคอื่นๆ💸 รวมไปถึงการวางแผนระยะยาวอย่างค่าเล่าเรียนด้วยค่ะ นอกจากนี้คุณแม่ควรศึกษาในเรื่องของสวัสดิการที่ตนเองควรจะได้รับจากที่ทำงานทั้งในช่วงคั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร รวมไปถึงสิทธิและสวัสดิการของลูกน้อยหลักคลอดด้วยค่ะ

เตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเลี้ยงเด็ก

ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความสะอาด มลภาวะทางอากาศ มลภาวะทางเสียง ความปลอดภัยทั้งในบ้านและนอกตัวบ้าน บางครอบครัวมีสัตว์เลี้ยงก็ควรพยายามฝึกให้ เจ้าสัตว์เลี้ยงเชื่องและเคยชินกับเด็กๆไว้ล่วงหน้าค่ะ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์กับเจ้าตัวเล็กหลังคลอด แต่ยังเป็นประโยชน์กับร่างกายของคุณแม่เองระหว่างการตั้งครรภ์ด้วยค่ะ🤰

         ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ แม้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณแม่และลูกน้อยโดยตรง แต่คุณพ่อและสมาชิกท่านอื่นๆภายในครอบครัวก็สามารถช่วยกันดูแลคุณแม่ได้ค่ะ นับเป็นเรื่องที่ดีมากๆที่จะทำให้คุณแม่รู้สึกว่าตนเองไม่ได้กำลังพยายามเพื่อลูกน้อยตัวคนเดียว หากทุกท่านในครอบครัวช่วยกันเตรียมพร้อม ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคั้งครรภ์ก็จะต่ำลงหรือไม่มีเลยในที่สุดค่ะ