post-title

โรคสมาธิสั้นในเด็กเป็นอย่างไร?

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจพบเจอว่าทำไมลูกถึงไม่ค่อยมีสมาธิและทำอะไรนานๆไม่ค่อยได้ ซึ่งอาการเหล่านี้นั้นอาจกำลังบ่งบอกว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้นก็เป็นได้ โรคสมาธิสั้นนั้นมีสาเหตุมาจากอะไรและควรรับมืออย่างไร วันนี้เราไปดูกันค่ะ 


โรคสมาธิสั้นคืออะไร? สาเหตุของโรค?

โรคสมาธิสั้น คืออะไร?

โรคสมาธิสั้น (ADHD) เป็นภาวะที่สมองมีความบกพร่องในหน้าที่ ซึ่งจะพบพฤติกรรมผิดปกติได้สามอย่างคือ อาการอยู่ไม่นิ่ง ขาดสมาธิต่อเนื่อง และขาดการยั้งคิด ซึ่งเมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน เด็ก👶ที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะแสดงพฤติกรรมชัดเจนกว่า 

สาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น

สาเหตุหลักของโรคสมาธิสั้นนั้นมาจากพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง🧠 และสาเหตุอีกส่วนมาจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่นคุณแม่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือ มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ หรืออาจมีปัจจัยของการเลี้ยงดู เช่น ปล่อยให้ลูกเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป หรือ การเลี้ยงดูอย่างไม่เป็นระเบียบวินัย


ลักษณะของโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้นนั้นมีลักษณะทางคลินิกที่มีความผิดของสมอง ทำให้เด็กไม่สามารถจดจำสิ่งที่ตั้งใจจะทำ หรือ ทำให้ขาดการยับยั้บชั่งใจ รวมถึงไม่สามารถวางแผนได้ ซึ่งโรคสมาธิสั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก 

อาการอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity)

อาการไม่อยู่นิ่งนั้นจะสามารถสังเกตุเห็นได้ชัดในวัยเด็กเล็ก ซึ่งเด็กจะมีความซุกซนมากกว่าคนอื่น จะมีการเคลื่อนไหวร่างกาย วิ่งไปมา🏃 ปีนป่ายไม่หยุดนิ่ง และจะมีการส่งเสียงดัง พูดเยอะ และมักจะลุกเดินบ่อยๆ หรือชอบก่อกวนเพื่อนในห้อง และเมื่อโตเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นก็จะไม่มีความอดทนที่จะทำกิจกรรมอย่างสงบได้ และจะรู้สึกกระวนกระวายใจ

ขาดสมาธิที่ต่อเนื่อง (Inattention)

อาการขาดสมาธิต่อเนื่องจะสามารถสังเกตเห็นได้ชัดในช่วงวัยเรียน โดยเมื่อต้องทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีอาการเหม่อลอย ไม่ตั้งใจฟัง เปลี่ยนความสนใจง่าย และทำงานไม่สำเร็จ

รวมถึงเด็กจะมีอาการหลงลืมง่าย ไม่มีการบริหารเวลา🕐 หรือ จัดระเบียบ ไม่มีความรับผิดชอบ ทำของหายบ่อยๆ  อย่างไรก็ตามหากได้ทำกิจกรรมที่ชอบเช่นดูทีวี เล่นเกมก็จะสามารถดูได้เป็นเวลานานค่ะ 

อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity)

อาการนี้จะสามารถพบได้ในวัยเด็กเล็ก👶 โดยเด็กจะมีอาการหงุดหงิด ใจร้อน เวลาที่ไม่ได้ดั่งใจ หรือเวลาที่ต้องอดทนรอ รวมถึงมักจะไม่ระวังอันตราย และชอบเล่นแรง เมื่อโตขึ้นจะไม่สามารถอดทนรอคอยได้ ชอบแทรกเวลาคนอื่นพูด เมื่อเป็นวัยรุ่นจะมีการตัดสินใจที่รวดเร็ว และไม่ไตร่ตรอง รวมถึงอาจทำพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายอยู่บ่อยๆ


วิธีรักษาโรคสมาธิสั้น

หากได้รับการวินิจฉัยว่าลูกน้อยเป็นโรคสมาธิสั้น ผู้ปกครองควรทำตามคำแนะนำของแพทย์และลองปรับใช้ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของลูกดูนะคะ 

✨โดยพยายามนำสิ่งที่อาจจะรบกวนลูกได้ออกไป เพื่อให้ลูกทำการได้อย่างสงบและมีสมาธิ

✨กำหนดกิจวัตรประจำวันของลูกได้เป็นแบบแผน กำหนดเวลาของแต่ละกิจกรรมไว้เลย

✨พยายามนำสิ่งที่อาจจะรบกวนลูกได้ออกไป เพื่อให้ลูกทำการได้อย่างสงบและมีสมาธิ

✨ลองแบ่งงานบ้านง่ายๆให้ลูกทำ ไม่ควรให้ลูกทำหลายอย่าง รวมถึงให้กำลังใจลูกเมื่อลูกทำได้สำเร็จ และควรบอกให้ลูกทำเมื่อถึงจังหวะที่เหมาะสม

✨พยายามบอกล่วงหน้าเมื่อต้องการสั่งงาน รวมถึงพยายามให้ลูกทำสำเร็จได้ด้วยตนเอง

✨หากลูกมีพฤติกรรมก่อกวน พยายามเบี่ยงเบนความสนใจโดยการทำกิจกรรมอื่น หรือพยายามให้ลูกหยุดทำพฤติกรรมอย่างนุ่มนวล

✨ใช้วิธี Time out หรือ ลงโทษโดยการลดเวลาการดูทีวีลง

✨พูดคุยกับคุณครูที่โรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ

✨คอยฝึกให้ลูกรู้จักการอดทนและการรอคอย สามารถเป็นตัวอย่างให้ลูกดูได้

โรคสมาธิสั้นนั้นสามารถแก้ไขได้ ซึ่งการแก้ไขนั้นเริ่มเร็วได้เท่าไหร่ยิ่งดี เพราะเมื่อลูกยังเล็กเขาจะสามารถปรับตัวและเรียนรู้ได้ดีกว่าตอนโตนั่นเองค่ะ