post-title

อาการนอนกัดฟันในเด็ก รับมืออย่างไรดี!?

การนอนกัดฟัน🦷นอกจากจะพบเจอได้บ่อยๆในผู้ใหญ่แล้ว ในเด็กก็สามารถเจอได้เช่นกัน โดยคุณพ่อคุณแม่อาจได้ยินลูกกัดฟันเมื่อลูกนอนกลางวัน หรือ เวลาที่ลูกหลับในเวลากลางคืน ซึ่งการกัดฟันนี้จะมีผลกระทบต่อฟันของลูกที่กำลังจะขึ้นหรือหลุดในช่วงวัยเตาะแตะนั่นเองค่ะ 


การนอนกัดฟันคืออะไร? เกิดขึ้นกับใครได้บ้าง?

การนอนกัดฟัน🦷

สามารถพบได้ในเด็ก ซึ่งไม่ถือเป็นความผิดปกติของร่างกายแต่ไม่ใช่โรค จะเกิดขึ้นเมื่อฟันกรามบนและฟันกรามล่างขบหากันเวลาที่นอน ซึ่งหากมีการเกร็งกรามมากๆก็จะทำให้ฟันสึกหรอได้ และผู้ที่กำลังนอน💤กัดฟันจะไม่รู้ตัวว่าตนเองนอนกัดฟันทั้งๆดังจนคนรอบข้างได้ยิน

เกิดขึ้นกับใครได้บ้าง?

สามารถเกิดได้ตั้งแต่วัยเด็ก (ทันทีที่มีฟันขึ้นจากเหงือก)👄 ซึ่งส่วนใหญ่จะหยุดกัดฟันไปเองเมื่ออายุ 6 ขวบ แต่ 1/3 ของเด็กเหล่านี้จะยังกัดฟันไปจนถึงตอนโต ซึ่งพบว่าในผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 18-29 ปี 18% มีการกัดฟัน และเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบการกัดฟันเพียง 6% เท่านั้น   


สาเหตุที่เด็กนอนกัดฟัน

แม้ว่าทันตแพทย์👨‍⚕️จะยังไม่ปักใจว่าสาเหตุมาจากสิ่งใด และยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็มีการสันนิษฐานสาเหตุตามนี้

✨สาเหตุจากความเครียด

✨จากความโกรธ

✨ตอบสนองต่อความเจ็บปวด เช่น การงอกของฟัน อาการปวดหู

✨บางคนมีฟันบนและฟันล่างที่ไม่อยู่ในแนวเดียวกัน

✨เพื่อบรรเทาอาการปวด

✨มีอาการป่วยชนิดอื่นร่วมด้วย

✨ยาบางชนิดส่งผลทำให้นอนกัดฟัน


เด็กนอนกัดฟัน ส่งผลอะไรบ้าง?

ผลกระทบระยะสั้น

อาจทำให้ลูกมีอาการปวดหัวหรือปวดรอบหู เพราะการนอนกัดฟันในเวลากลางคืนจะมีการเกิดแรงกดทับจากการขบฟัน🦷 ซึ่งทำให้สารเคลือบฟันเกิดการสึกหรอ และอาจทำให้เกิดอาการปวดเวลาลูกเคี้ยว หรือฟันจะมีการไวต่อความเย็นและความร้อนมากขึ้น 

ผลกระทบระยะยาว

หากลูกยังนอนกัดไปเรื่อยๆจนโต อาจทำให้ฟัน👄ของลูกเกิดการบิ่ว มีรอยร้าว หรือแตกหักได้ ซึ่งหากมีการกัดฟันบ่อยๆ อาจทำให้ข้อต่อขากรรไกรเกิดความผิดปกติได้ หรือที่เรียกว่า Temporomandibular joint Disorder (TMD) ซึ่งจะทำให้ลูกปวดกรามและทำให้อ้าปาก หรือเคี้ยวได้ยากขึ้นอีกด้วย


วิธีรักษาและป้องกันการนอนกัดฟันของเด็ก

การรักษา

ผู้ปกครองสามารถคอยสังเกตอาการของลูก และพาลูกไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ หากลูกมีการกัดฟันจนทำให้ฟันเสียหาย👄 หรือ กราม/บริเวณใบหน้าเจ็บปวด ทันตแพทย์👨‍⚕️อาจแนะนำให้ลูกใส่ฟันยางเพื่อลดการกระทบกันของฟันเมื่อถึงเวลานอน ซึ่งอาจจะต้องใส่จนกว่าฟันน้ำนมจะหลุดหมด หรือ ตามการพิจารณาของทันตแพทย์ 

วิธีป้องกันการนอนกัดฟัน

แม้จะไม่มีวิธีป้องกันโดยตรงเพราะการกัดฟัน🦷นั้นเป็นไปตามธรรมชาติของการเจริญเติบโตของเด็ก แต่ถ้าสาเหตุการกัดฟันของลูกเกิดจากความเครียด หรืออารมณ์โกรธคุณพ่อคุณแม่สามารถพูดคุยกับลูก และพยายามทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดเพื่อให้ลูกสบายใจและหลับอย่างมีคุณภาพค่ะ